ขนมไทยชนิดต่างๆ
ขนมไทย สำหรับใครที่อยากเข้าครัวทำขนมไทยเองดูบ้าง เราได้รวบรวมเมนูขนมไทย 15 ชนิด ที่บอกทั้งสูตรและวิธีทำให้แล้ว 1. บัวลอยไข่หวาน บัวลอยสูตรขนมไทยที่หาทานได้ง่าย ถูกใจทุกเพศทุกวัย เพราะด้วยเนื้อบัวลอยแบบเหนียวนุ่มและสีสันชวนรับประทาน ตัดด้วยน้ำกะทิหวานมัน กับไข่หวานยิ่งทำให้ได้รสชาติที่เข้ากัน ส่วนผสมตัวแป้งบัวลอย แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม แป้งมัน 10 กรัม สีผสมอาหาร น้ำเปล่า ส่วนผสมน้ำกะทิ หางกะทิ 2 ถ้วย หัวกะทิ 2 ถ้วย น้ำตาลปี๊บ 100 กรัม น้ำตาลทราย 80 กรัม เกลือป่น 1/4 ช้อนโต๊ะ ไข่ไก่ วิธีทำบัวลอยไข่หวาน เริ่มกันที่ทำแป้งบัวลอย ใส่แป้งข้าวเหนียวลงในชามผสม ตามด้วยแป้งมัน และสีผสมอาหาร ในขั้นตอนนี้หากใครต้องการทำแป้งบัวลอยหลายสี สามารถแยกชามผสมและแบ่งเทสีผสมอาหารตามที่ต้องการได้เลยค่ะ หลังจากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเปล่าลงไป พร้อมกับนวดแป้งไปด้วย ใส่จนครบ 8 ช้อนโต๊ะ หรือจนรู้สึกว่าเนื้อแป้งมีความเนียนนุ่ม นำแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดประมาณ […]
ประวัติขนมไทย
ประวัติขนมไทย ขนมไทยซึ่งเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปนั้น จะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญหลายอย่าง เช่น มีรสหวาน มีกลิ่นหอม มีสีสันสวยงาม ตามลักษณะชื่อของขนมนั้นๆ ขนมโบราณส่วนมากมีสีตามธรรมชาติ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือที่หาได้ง่ายๆ ที่ใช้กัน เช่น สีจากใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ โดยนำมาต้ม เผา โขลก หรือคั้นใช้เนื้อน้ำ เช่น ใบเตยหอม ดอกอัญชัน ดอกดิน ลูกปลัง ลูกตาลสุก ฟักทอง มะละกอ เป็นต้น ถึงแม้ในสมัยนี้วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเจริญ มีการพัฒนาของใหม่ๆ เช่น สี กลิ่นที่สังเคราะห์ขึ้นมาใช้มากมาย แต่เรายังไมม่ทิ้งของเดิมที่ได้จากธรรมชาติ เนื่อจากยังชอบกลิ่นหอมของดอกมะลิสด กลิ่นกระดังงาลนไฟ กลิ่นใบเตย กลิ่นเทียนอบ มากกว่ากลิ่นสังเคราะห์ ขนมไทยมีหลายชนิดที่ต้องใช้กลิ่มธรรมชาติ ถ้าขาดไปจะทำให้ขนมนั้นไม่หอม ทำให้ไม่ชวนรับประทาน หรือรับประทานเเล้วไม่ติดใจ ในเรื่องนี้ช่างทำขนมหวานสมัยโบราณพิธีพิถันมาก จนกล่าวได้ว่าขนมไทยจะต้องมีกลิ่วหอมนอกหอมในด้วย เช่น ขนมที่ทำมาจากไข่ต้องทำน้ำลอยดอกไม้เสียก่อน แล้วนำมาทำน้ำเชื่อม ครั้นเมื่อทำเป็นขนมเสร็จแล้ว ก่อนจัดเก็บยังต้องอบดอกมะลิอีกครั้ง จึงจะนำไปรับประทาน ขนมชั้น ขนมซ่าหริ่ม […]
ความเป็นมาของขนมไทย
ที่มาของคำว่าขนมไทย ขนมไทย เป็นขนมที่ทำขึ้นและรับประทานในราชอาณาจักรไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมประจำชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการคัดสรรวัตถุดิบ วิธีการปรุง อย่างพิถีพิถัน รสชาติอร่อย หอมหวาน สีสันสวยงาม น่ารับประทาน ตลอดจนขั้นตอนการรับประทานขนมชั้นเลิศแต่ละชนิดซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมนั้นด้วย สำหรับ “ขนม” พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นจรัสพรเพวันทรงสันนิษฐานว่า “ชื่อ” เป็นคำผิดของ “ข้าวหนม” เพราะ “ชื่อ” แปลว่าหวาน แต่ความหมายของคำว่าขนอมไม่ปรากฏในพจนานุกรมไทย เอาเป็นว่าทางเหนือเขาเรียกขนมหนม แต่ความหมายคำว่าหม่ำตามคำท้องถิ่นทางเหนือก็ไม่พบในพจนานุกรมเช่นกัน คำหนม แปลว่า ข้าว หวานอายุสั้น เดี๋ยวจะเป็นขนม ปัจจุบันเขียนว่า ข้าว)