ประวัติขนมไทย

   ขนมไทยซึ่งเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไปนั้น จะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญหลายอย่าง เช่น มีรสหวาน มีกลิ่นหอม มีสีสันสวยงาม ตามลักษณะชื่อของขนมนั้นๆ ขนมโบราณส่วนมากมีสีตามธรรมชาติ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือที่หาได้ง่ายๆ ที่ใช้กัน เช่น  สีจากใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้  โดยนำมาต้ม เผา โขลก หรือคั้นใช้เนื้อน้ำ เช่น ใบเตยหอม ดอกอัญชัน ดอกดิน ลูกปลัง ลูกตาลสุก ฟักทอง มะละกอ เป็นต้น ถึงแม้ในสมัยนี้วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเจริญ มีการพัฒนาของใหม่ๆ เช่น สี กลิ่นที่สังเคราะห์ขึ้นมาใช้มากมาย แต่เรายังไมม่ทิ้งของเดิมที่ได้จากธรรมชาติ เนื่อจากยังชอบกลิ่นหอมของดอกมะลิสด กลิ่นกระดังงาลนไฟ กลิ่นใบเตย กลิ่นเทียนอบ มากกว่ากลิ่นสังเคราะห์ ขนมไทยมีหลายชนิดที่ต้องใช้กลิ่มธรรมชาติ ถ้าขาดไปจะทำให้ขนมนั้นไม่หอม ทำให้ไม่ชวนรับประทาน หรือรับประทานเเล้วไม่ติดใจ ในเรื่องนี้ช่างทำขนมหวานสมัยโบราณพิธีพิถันมาก จนกล่าวได้ว่าขนมไทยจะต้องมีกลิ่วหอมนอกหอมในด้วย เช่น ขนมที่ทำมาจากไข่ต้องทำน้ำลอยดอกไม้เสียก่อน แล้วนำมาทำน้ำเชื่อม ครั้นเมื่อทำเป็นขนมเสร็จแล้ว ก่อนจัดเก็บยังต้องอบดอกมะลิอีกครั้ง จึงจะนำไปรับประทาน  ขนมชั้น ขนมซ่าหริ่ม ที่ต้องใช้แป้งเป็นหลักที่ต้องมีการอบให้หอมชั้นหนึ่งเสียก่อนเวลาที่ต้องใช้น้ำลอยดอกไม้คั้นกะทิ หรืออบน้ำกะทิด้วยควันเทียน ถ้าเป็นขนมสอดไส้ต้องอบไส้ด้วยควันเทียน หรืออบดอกมะลิสด ส่วนหน้าขนมต้องใช้น้ำลอยดอกไม้คั้นกะทิ เป็นต้น